วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ SIPA

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (Software Industry Promotion Agency) หรือ SIPA จัดตั้งเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2546 มีจุดประสงค์คือ
-เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ
-ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ
-สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และจัดให้มีกฎระเบียบและมาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรรมซอฟต์แวร์
-สนับสนุนให้เกิดการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์

SIPA มีนโยบายในการพัฒนาบุคคลในด้านซอร์ฟแวร์ของไทยและยังสนับสนุน Software ทุกประเภท และยังสนับสนุนองค์กรย่อยต่างในการพัฒนาด้าน Soft ware สิ่งที่เห็นได้ชัดในการทำงานของ Sipa โดยมีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว ETSS Institute (Thailand) ร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงนโยบายที่มั่งคงในการพัฒนาประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในระดับโลกในด้าน Soft Ware ได้
ส่วน Multimedia & Animation นั้น SIPA ก็มีการจัดฝึกอบรมในภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งเจาะลึกถึงสถานศึกษาและโครงการที่ SIPA จัดทำขึ้น คือการจัดแข่งขันการแข่งขัน Animation ภายใต้ชื่อว่า “SIPA Animation Contest 2009” กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มนักเรียนนักศึกษา

สุริยัน-จันทรา

เราอยากทำให้โอเพ่นซอร์ส มีการใช้งานที่ง่ายสำหรับคนที่เข้ามาทดลองใช้ ปัญหาที่เคยเจอในอดีต คือ คนไม่ค่อยกล้าใช้ เพราะอาจต้องเปลี่ยนระบบงานทั้งหมด ที่เรียนมาในอดีต ไอเดียของสุริยัน คือ ไม่ต้องเปลี่ยนในสิ่งที่ทำมาในอดีต ส่วนซอฟต์แวร์ระบบสำนักงาน "จันทรา" เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส สำหรับระบบปฎิบัติการวินโดวส์ โดยเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดจากโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่มีอยู่เป็นแสนๆ โปรแกรม มาพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์จันทรา ซึ่งในการเลือกหรือคัดสรรนั้นต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยจุดเด่นของซอฟต์แวร์จันทรานั้น จะมีโปรแกรมให้เลือกใช้งาน 24 โปรแกรม โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมทั้งหมด สามารถเลือกโปรแกรมที่สนใจจากแผ่นซีดีมาทำการติดตั้งใช้งานได้


รัฐบาลมีแผนจัดซื้อคอมพิวเตอร์ ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ 250,000 เครื่อง ซึ่งเราจะติดตั้งโปรแกรมจันทราลงในคอมพิวเตอร์เหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการโน้ตบุ๊ก ราคา 4,000 บาท ที่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทั้งหมด ไม่อย่างนั้นไม่สามารถทำราคาให้ถูกได้

สุริยัน Suriyan
เป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดย SIPA เห็นว่าการที่ประชากรในชาติจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่เป็น ซอฟต์แวร์เชิงพานิชนั้น นอกจากจะสิ้นเปลืองและไม่ปลอดภัยแล้ว เราจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ทาง SIPA จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการ Suriyan ที่เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สทั้งระบบขึ้นมาให้ใช้งาน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวข้างต้นได้อย่างตรงจุด

ข้อดีของการใช้ Soft Ware สุริยัน
- มีความปลอดภัยจากไวรัสสูง
- ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ในการใช้งาน
- สามารคัดลองและแจกจ่ายได้
- เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นโอเพนซอร์ส ผู้ใช้สามารถพัฒนาต่อเองได้
- มีจำนวนโปรแกรมให้เลือใช้มากกว่า 4000 โปรแกรม

จันทรา Chantra
เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ผ่านการคัดเลือก และปรับแต่งให้ใช้งานกับภาษาไทยซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานในเมืองไทย มีโปรแกรมทั้งหมด 33 โปรแกรมประยุกต์ โดยมีโปรแกรมสำหรับการทำงานต่าง ๆ อย่างเพียบพร้อม
ตัวอย่างโปรแกรม
- OpenOffice เป็นโปรแกรม Office ทั้ง word, datasheet , spreadsheet
- forefox โปรแกรมท่องอินเตอร์เน็ตคุณภาพสูงที่เปิดให้ใช้กันฟรีๆ
- GIMP โปรแกรมจัดการภาพ เหมือน Photoshop
- และโปรแกรมสำหรับดูหนังฟังเพลง
- 7zip,Audacity,Blender,Celestia,FileZilla,Firefox,Gimp,Inkscape

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น