วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์ในการใช้ ICT เพื่อส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ

ถ้าหากเราจะใช้ ICT ในการส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษจะมีวิธีการกลยุทธ์ โครงการอย่างไร และท่านคิดอย่างไรว่ากลยุทธ์ โครงการดังกล่าวที่ท่านเสนอจะเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้ ให้ระบบขั้นตอนวิธีการที่จะได้มาซึ่งกลยุทธ์และโครงการที่ท่านนำเสนอ

มิดเทอมผลสอบEng ออกมา
ได้เพียงสามสิบห้า จากร้อย
หากดรอปเสียเวลา เรียนต่อ ปลายเทอม
เพื่อบอกเจ้าควายน้อย โง่แล้ว ดันทุรัง

Englishเด็กต่างสู้ เรียนมา
ภาษาแม่คุยกับตา มิได้
ภาษาพ่อเจรจา ก็เปล่า เลยนา
ใครกันกำหนดไว้ เด็กต้อง มาซวย

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า วิชาภาษาอังกฤษ น่าจะเป็นวิชาที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตกมากที่สุดโดยเพาะนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง และกลายเป็นมลทินติดตัวไปจนขึ้นปีสอง ปีสามและปีต่อๆไป สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็สุดที่จะรับรู้และเข้าใจ อาจเป็นเพราะคิดว่าไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ เรียนไปก็ไม่ได้ใช้ในชีวิตจริงแล้วจะเรียนไปทำไม

จากเหตุผลดังกล่าว การที่จะนำ ICT มาใช้ในการส่งเสริม จึงนับว่าเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูง คือเสี่ยงต่อการที่จะไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้เรียน

แต่เพราะเป็นหน้าที่ก็ต้องทำ สำหรับกลยุทธ์ที่จะคิดว่าจะทำให้การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้มีประสิทธิภาพ สามารถลำดับเป็นข้อได้ดังนี้

1.ต้องทำให้นักศึกษามองเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ทั้งตอนทีอยู่ในหมาวิทยาลัยและเมื่อนักศึกษาจบออกไป ซึ่งวิธีการก็อาจจะเป็นการนำภาษาอังกฤษมาใช้ในการเรียนการสอน อาจจะไม่ต้องทั้งหมด แต่ค่อยๆให้แทรกซึมทีละน้อย เพื่อลดการต่อต้านและสร้างความคุ้นเคย และอาจจะมีการแนะแนวจากรุ่นพี่ที่จบออกไปแล้ว เพื่อชี้ให้เห็นและตอกย้ำความสำคัญของภาษาอังกฤษ และสร้างแรงบันดาลใจให้รุ่นน้องในการเรียนภาษาอังกฤษอีกด้วย

2.การนำเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารที่มีอยู่มาใช้ในการส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ หลังจากที่ได้ทำการสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว ในขั้นตอนนี้จะเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งจาการสังเกตุ ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีค่อนข้างมีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยเองก็มีบริการต่างๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา

3.หากพิจารณาพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นเกมส์ ดังนั้นการนำเกมส์มาเป็นสื่อในการเรียนภาษาอังกฤษน่าจะได้ผลกับนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากนั้นค่อยเริ่มเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น อาจจะเป็นการทำแบบทดสอบในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้อาจจะมีการสร้างแรงจูงใจด้วยการให้คะแนนพิเศษกับนึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อใช้เป็นคะแนนช่วยในวิชาภาษาอังกฤษ

กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ถ้าหากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีนโยบายนำ E-book มาใช้ในการเรียนการสอน ท่านคิดว่าจะตอบคำถามต่อไปนี้ได้หรือไม่อย่างไร

(1) มหาวิทยาลัยควรจะมีกลยุทธ์และวิธีการอย่างไรในการที่จะให้นักศึกษาและอาจารย์ได้รับทราบข้อดีและข้อเสียของการใช้ E-book ในการเรียนการสอน

หากจะพูดกันตรงๆ ในปัจจุบัน นักศึกษาและอาจารย์ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่ค่อยให้ความสำคัญและความสนใจกับเทคโนโลยีทางด้านนี้มากเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากเห็นว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งเมื่อเรียงลำดับความสำคัญแล้ว เอาเงินส่วนนี้ไปทำอย่างอื่นที่คิดว่าดีกว่า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ก็ตาม ทำให้เทคโนโลยีส่วนนี้หรือแม้กระทั่งส่วนอื่นๆที่มีความสำคัญถูกละเลยและมองข้ามไป
วิธีการที่จะทำให้บุคคลเหล่านี้มองเห็นข้อดีและข้อเสียของการนำ E-book มาใช้ในการเรียนการสอน วิธีทีคิดว่าน่าจะได้ผลที่สุดก็คงจะเป็นการนำมาบังคับใช้ในการเรียนการสอน อาจจะเริ่มจากบางวิชาก่อนเพื่อเป็นการนำร่อง ทำเป็นตัวอย่างให้เห็นข้อดีและข้อเสีย รวมถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ตัวนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน
แต่แน่นอนว่าเมื่อมีการนำมาบังคับใช้ ก็ย่อมมีการต่อต้านจากนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน อาจจะเป็นด้วยปัญหาที่กิดจากการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดจากความมีอคติของผู้ใช้งานก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องทำความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาต่อไป


(2) ถ้าหากว่าท่านได้รับการเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ E-book ท่านคิดว่าจะได้อย่างไรถึงจะสามารถทำให้มียอดขายจำนวนมากที่สุด

สำหรับวิธีการที่จะเพิ่มยอดขายให้กับอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนการสอนด้วย E-book ลำดับแรกที่ควรต้องพิจารณาคือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ดังนั้นการออกแบบอุปกรณ์ให้มีความสวยงาม ดูดี ถือแล้วไม่รู้สึกเขินอาย และที่สำคัญควรมีราคาที่ไม่สูงมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น บันทึกเสียง ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น และหากราคาไม่สูงมากก็น่าจะสามารถใช้โทรออกและรับสายได้ เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ ใช้ทดแทนโทรศัพท์มือถือได้ แต่ราคาอาจจะสูงเกินไป อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์

1. www.kengpasa.com
ฝึกภาษาอังกฤษ คือหัวใจของผู้ต้องการจะเก่งภาษา KENGPASA.COM คือเว็บไซต์ที่บริการให้สมาชิกได้ ..ฝึกฝน..โดยแ้ท้จริง

2. www.cleverlearn.com
นวัตกรรมใหม่แห่งการเรียนภาษาอังกฤษ สนุก เป็นเร็ว และได้ผล

3. www.englishub.com
มาเรียนภาษาอังกฤษกันเถอะ

4. www.recovery.ac.th
หลักสูตร สถานที่ และเวลา ได้คุณภาพเหมือน เรียนภาษาอังกฤษ ที่ต่างประเทศ

5. www.ClickBanana.com
ถูกตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นชุมชนออนไลน์ สำหรับเพื่อน ๆ ทุกคน ที่สนใจและ ชอบภาษาอังกฤษเหมือนกัน Website แห่งนี้ ไม่เพียงเป็นแค่ Website ที่ให้บริการหลักสูตรการเรียน ภาษาอังกฤษออนไลน์เท่านั้น เรายังรวบรวมความรู้ภาษาอังกฤษบนท้องถนน (English at Street) สำนวน/แสลง (Idiom/Slang) บทความน่ารู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ TOEFL, IELTS, TOEIC ข้อมูลการศึกษาต่อ เกมส์ภาษาอังกฤษ คลิปวีดิโอขำ ๆ ที่ช่วยให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องกล้วย ๆ สนุก ๆ

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ SIPA

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (Software Industry Promotion Agency) หรือ SIPA จัดตั้งเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2546 มีจุดประสงค์คือ
-เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ
-ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ
-สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และจัดให้มีกฎระเบียบและมาตรการที่จำเป็นต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรรมซอฟต์แวร์
-สนับสนุนให้เกิดการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์

SIPA มีนโยบายในการพัฒนาบุคคลในด้านซอร์ฟแวร์ของไทยและยังสนับสนุน Software ทุกประเภท และยังสนับสนุนองค์กรย่อยต่างในการพัฒนาด้าน Soft ware สิ่งที่เห็นได้ชัดในการทำงานของ Sipa โดยมีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว ETSS Institute (Thailand) ร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงนโยบายที่มั่งคงในการพัฒนาประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในระดับโลกในด้าน Soft Ware ได้
ส่วน Multimedia & Animation นั้น SIPA ก็มีการจัดฝึกอบรมในภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งเจาะลึกถึงสถานศึกษาและโครงการที่ SIPA จัดทำขึ้น คือการจัดแข่งขันการแข่งขัน Animation ภายใต้ชื่อว่า “SIPA Animation Contest 2009” กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มนักเรียนนักศึกษา

สุริยัน-จันทรา

เราอยากทำให้โอเพ่นซอร์ส มีการใช้งานที่ง่ายสำหรับคนที่เข้ามาทดลองใช้ ปัญหาที่เคยเจอในอดีต คือ คนไม่ค่อยกล้าใช้ เพราะอาจต้องเปลี่ยนระบบงานทั้งหมด ที่เรียนมาในอดีต ไอเดียของสุริยัน คือ ไม่ต้องเปลี่ยนในสิ่งที่ทำมาในอดีต ส่วนซอฟต์แวร์ระบบสำนักงาน "จันทรา" เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส สำหรับระบบปฎิบัติการวินโดวส์ โดยเราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดจากโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่มีอยู่เป็นแสนๆ โปรแกรม มาพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์จันทรา ซึ่งในการเลือกหรือคัดสรรนั้นต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยจุดเด่นของซอฟต์แวร์จันทรานั้น จะมีโปรแกรมให้เลือกใช้งาน 24 โปรแกรม โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมทั้งหมด สามารถเลือกโปรแกรมที่สนใจจากแผ่นซีดีมาทำการติดตั้งใช้งานได้


รัฐบาลมีแผนจัดซื้อคอมพิวเตอร์ ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ 250,000 เครื่อง ซึ่งเราจะติดตั้งโปรแกรมจันทราลงในคอมพิวเตอร์เหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการโน้ตบุ๊ก ราคา 4,000 บาท ที่ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สทั้งหมด ไม่อย่างนั้นไม่สามารถทำราคาให้ถูกได้

สุริยัน Suriyan
เป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดย SIPA เห็นว่าการที่ประชากรในชาติจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่เป็น ซอฟต์แวร์เชิงพานิชนั้น นอกจากจะสิ้นเปลืองและไม่ปลอดภัยแล้ว เราจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ทาง SIPA จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการ Suriyan ที่เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สทั้งระบบขึ้นมาให้ใช้งาน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวข้างต้นได้อย่างตรงจุด

ข้อดีของการใช้ Soft Ware สุริยัน
- มีความปลอดภัยจากไวรัสสูง
- ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ในการใช้งาน
- สามารคัดลองและแจกจ่ายได้
- เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นโอเพนซอร์ส ผู้ใช้สามารถพัฒนาต่อเองได้
- มีจำนวนโปรแกรมให้เลือใช้มากกว่า 4000 โปรแกรม

จันทรา Chantra
เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ผ่านการคัดเลือก และปรับแต่งให้ใช้งานกับภาษาไทยซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานในเมืองไทย มีโปรแกรมทั้งหมด 33 โปรแกรมประยุกต์ โดยมีโปรแกรมสำหรับการทำงานต่าง ๆ อย่างเพียบพร้อม
ตัวอย่างโปรแกรม
- OpenOffice เป็นโปรแกรม Office ทั้ง word, datasheet , spreadsheet
- forefox โปรแกรมท่องอินเตอร์เน็ตคุณภาพสูงที่เปิดให้ใช้กันฟรีๆ
- GIMP โปรแกรมจัดการภาพ เหมือน Photoshop
- และโปรแกรมสำหรับดูหนังฟังเพลง
- 7zip,Audacity,Blender,Celestia,FileZilla,Firefox,Gimp,Inkscape

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์ของผู้ประกอบการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

จากบทความเรื่อง ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง ของ อ.มนูญ ศรีวิรัตน์ โดยเขียนไว้ว่า หลักของผู้ประกอบการ คือ จะต้องปรับตัวเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการบูรณาการในทุกๆ ด้าน โดยยกตัวอย่างร้านค้าแห่งหนึ่งที่ขายสินค้าและขายก๋วยเตี๋ยวไปด้วย จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการค้าขายคือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด ด้วยระบบการจัดการที่ดี เพราะถึงแม้พื้นที่จะมีน้อย แต่ก็สามารถรองรับลูกค้าได้มาก ด้วยการกินก๋วยเตี๋ยวใช้เวลาไม่นาน อีกทั้งยังมีสินค้าเผื่อไว้ให้ลูกค้าที่มากินก๋วยเตี๋ยวอีกด้วย
จากการอ่านบทความดังกล่าว จะเห็นได้ว่า นอกจากเจ้าของร้านจะมีกลยุทธ์ที่ใช้ในการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบันแล้ว ยังมีความสามารถในการที่จะจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

Klowledge Wisdom and Vision

Knowledge ความรู้

สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ
และทักษะ ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจาก ประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยินได้
ฟัง การคิดหรือการ
ปฏิบัติ

Information plus experience to act upon

ตัวอย่าง

“หุ้นขึ้น ๑๐ %” เป็น ข้อมูล
“หุ้นธนาคารที่เราซื้อไว้ขึ้น ๑๐ %” เป็น สารสนเทศ
“เมื่อหุ้นธนาคารที่เราซื้อไว้ขึ้นถึง ๑๐ % เราขายหุ้นนี้ได้กำไรอย่างงาม” เป็น ความรู้

การที่หุ้นนี้ขึ้นถึง ๑๐ % เป็นผลจากการปั่นราคาหุ้น เราต้องรีบขายทันที” เป็น ปัญญา

Wisdom ปัญญา

ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว,ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด (ราชบัณฑิตยสถาน) ความรู้รอบ, ความรู้ลึก

Ability to discern inner qualities and relationships--insight

ประเภทของปัญญา
๑.สุตมยปัญญา Knowledge
๒. จินตามยปัญญา Knowledge & Wisdom
๓. ภาวนามยปัญญา Wisdom


ขงจื้อ Confucius

He who learns but does not think is lost! He who thinks but does not learn is in great danger.
•เรียนโดยไม่คิด เสียเวลาเรียน
•คิดโดยไม่เรียน เข้ารกเข้าพง


ปัญญา ๒ ประเภท
๑.ปัจเจกปัญญา Tacit Knowledge ความรู้เฉพาะตัว (ปัจจัตตัง)
๒.สาธารณปัญญา Explicit Knowledge ความรู้ที่ถูกบันทึกไว้ซึ่งคนทั่วไปรู้ได้


ที่มา พระธรรมโกศาจารย์ ศาสตราจารย์และอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เจ้าคณะภาค ๒ เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส


Vision วิสัยทัศน์์

สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็นในอนาคต

"ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง" พระธรรมปิฎก

What we would like to be